ต่อมาราวปี 2540 เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในพื้นที่อำเภอบางปะกง
- จ๊ะ เอ๋
- Feb 8, 2021
- 1 min read
บ้านโพธิ์ และแปลงยาว ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ส่วนอำเภออื่นๆ ก็มีรถของโรงงานไปรับ-ส่งถึงบ้าน แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในจังหวัด
จากที่ได้สัมผัสตัวเมืองฉะเชิงเทรา พบว่าเป็นเมืองที่กว้างแต่ไม่มากนัก เพราะมีแม่น้ำบางปะกง ทางรถไฟสายตะวันออก และถนนสิริโสธรล้อมกรอบอยู่ แฝงไปด้วยวิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรมศูนย์กลางความเจริญของเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งตะวันตก โดยมีศูนย์ราชการ โรงพยาบาลพุทธโสธร ค่ายศรีโสธร มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ และวัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
ลงมายังถนนสิริโสธร ไปทาง อ.บ้านโพธิ์ และ อ.บางปะกง ด้านที่ติดถนนใหญ่จะเต็มไปด้วยบ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม แต่ถ้าขึ้นไปทางถนนสุวินทวงศ์ อ.บางน้ำเปรี้ยว จะเป็นทุ่งนาและบ้านเรือน มีโรงงานและชุมชนขนาดย่อมบ้างเพียงประปรายส่วนบรรยากาศ คาสิโนออนไลน์ ได้ตังดี โดยทั่วไป ช่วงกลางวันจะคึกคัก แต่หลัง 6 โมงเย็น ย่านตลาดทรัพย์สินฯ จะเริ่มเงียบเหงา เพราะร้านค้าเริ่มทยอยเก็บของ ปิดบ้านนอนกันหมดแล้ว จะกลับมาคึกคักอีกครั้งตั้งแต่เช้าเป็นต้นไป

ยิ่งถ้าเป็น สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา รถไฟเข้ากรุงเทพฯ มีถึง 6 โมงเย็นเท่านั้น นอกนั้นจะเป็นรถไฟไปปราจีนบุรี มาถึงสถานีประมาณ 1 ทุ่มเศษๆ ส่วนรถไฟขบวนสุดท้ายจากกรุงเทพฯ จะมาถึงฉะเชิงเทราประมาณ 2 ทุ่มตรง
สถานีขนส่งผู้โดยสารฉะเชิงเทรา
แต่สำหรับ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง เพราะมีรถโดยสารประจำทาง ทั้งรถตู้เข้ากรุงเทพฯ รถประจำทางหมวด 3 จากนครราชสีมา สระแก้ว ไปยัง ชลบุรี พัทยา ระยอง และจันทบุรีนอกจากนี้ ยังเป็นจุดรวมรถสองแถว ไปยังอำเภอต่างๆ เช่น อ.บางคล้า อ.บางน้ำเปรี้ยว อ.บางปะกง และหากเป็นอำเภอในพื้นที่ห่างไกล เช่น อ.สนามชัยเขต ก็ยังมีรถตู้โดยสารสายฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม-สนามชัยเขต ให้บริการอีกด้วย
หลายฝ่ายคาดหวังว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะพลิกเมืองฉะเชิงเทราให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยรองรับความแออัดจากกรุงเทพฯ ASIAX8 และการขยายตัวเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี แต่ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะทาง 220 กิโลเมตร งบลงทุน 2.24 แสนล้านบาท เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง อายุสัญญา 50 ปี

แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะยกระดับขนานไปกับทางรถไฟสายตะวันออก มีจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นทางผ่าน แต่ไม่ผ่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา จะเบี่ยงออกนอกเมืองไปทางทิศเหนือ บริเวณถนนสุวินทวงศ์ เนื่องจากต้องใช้ทางโค้งที่กว้างขึ้น
เดิมพื้นที่ริมถนนสุวินทวงศ์กำหนดให้เป็นพื้นที่ชุมชน และห่างออกไปเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ขณะนี้กำลังพัฒนาผังเมืองให้สอดคล้องกับเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หวังปลดล็อกการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มากขึ้น
ภาพจำลอง สถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา
สถานีฉะเชิงเทรา ของรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้อยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราเดิม
รายงานข่าวระบุว่า จะเวนคืนที่ดินบริเวณถนนสุวินทวงศ์ แบ่งออกเป็นอาคารสถานี อยู่ฝั่งตะวันออก พื้นที่ 76 ไร่ กับศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) อยู่ฝั่งตะวันตก พื้นที่ 358 ไร่ ห่างจากทางแยกต่างระดับฉะเชิงเทรา 1 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 4 กิโลเมตร
รูปแบบสถานีจะสูง 2 ชั้น รองรับทางรถไฟยกระดับจากกรุงเทพฯ ด้านหน้าเป็นลานจอดรถ อาคารสถานีชั้นล่างจะเป็นชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนชั้นบนจะเป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง 4 ชานชาลา ยาว 210 เมตร
ด้วยรถไฟความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากก่อสร้างแล้วเสร็จ การเดินทางจากฉะเชิงเทราถึงกรุงเทพฯ สะดวกรวดเร็ว ไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ค่าโดยสารเหยียบร้อย ถ้าจะใช้บริการประจำอาจต้องคิดหนัก
เอาแค่ลงที่สถานีสุวรรณภูมิ ไปขึ้นเครื่องบิน เสีย 161 บาท, ลงสถานีมักกะสัน (ต่อ MRT) เสีย 210 บาท, ลงสถานีกลางบางซื่อ เสีย 229 บาท ปลายทางสถานีดอนเมือง ต่อเครื่องบินโลว์คอสต์ เสีย 254 บาท!
Commentaires